วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สารอาหารในผักผลไม้



อาหาร.....สิ่งสำคัญที่ร่างกายต้องการ สารอาหาร คือ สิ่งที่มีอยู่ในวัตถุดิบของอาหารแต่ละชนิด เมื่อร่างกายของเราได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ร่างกายของเราก็จะแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่จะมีสักกี่คนที่ได้ให้สารอาหารครบถ้วนแก่ร่างกาย
กินอยู่อย่างไรที่เรียกว่าดีมีประโยชน์ เพราะหลายเหตุผลที่ต่างอ้างกันไปสารพัดกับเรื่องของการไม่มีเวลา ไม่สะดวกที่จะจัดหา หากมาวางกฎที่เคร่งครัดเกินไปก็ทำให้เครียด คำเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการป้องกันไม่ให้ตนเองดูไม่ดีทางวินัยต่างหาก ลองมาดูกันที่เวลา เชื่อว่าทุกคนมีเวลาเท่ากันแล้วแต่ใครจะใช้เวลาได้คุ้มค่ากว่ากัน แต่สิ่งที่ไม่เคยรอเวลา คือ ร่างกายของเรา
อายุเรานั้นมากขึ้นทุกวันแต่มีสุขภาพกลับแย่ลง คนส่วนมากจะประสบปัญหาเช่นนี้ ลองมองย้อนกลับไปตั้งแต่เรายังเป็นทารกคุณแม่ หรือผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูเราจะสรรหาอาหารที่ดีมีประโยชน์มาป้อนให้เรา สำหรับอาหารที่แทนน้ำนมแม่ คือ กล้วยน้ำว้า เพราะกล้วยน้ำว้ามีโปรตีนใกล้เคียงกับน้ำนมแม่มาก กล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าสูงให้พลังงาน 100 แคลอรีต่อ 100 กรัม กล้วยสุกย่อยง่ายให้วิตามินเอมาก
การกินกล้วยสุกก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงจะช่วยรักษาโรคกระเพาะ ลดการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และช่วยแก้อาการท้องผูกได้ด้วย แต่ในทางกลับกันของการกินกล้วย ถ้าท้องเสียเราจะให้กินกล้วยดิบบรรเทาอาการ เนื่องจากในกล้วยดิบนั้นมีรสฝาดและมีสารแทนนินเป็นตัวสมานช่วยแก้อาการท้องเสียได้ แค่กล้วยอย่างเดียวก็ได้ประโยชน์นานัปการแล้วแถมยังได้ยารักษาทั้งท้องผูก-ท้องเสีย
เมื่อเราอายุมากขึ้นจนชราสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับร่างกายก็ คือ กล้วยเช่นกัน เพราะเชื่อกันว่าการกินกล้วยน้ำว้าแช่น้ำผึ้งทุกวันจะทำให้สุขภาพแข็งแรง และเป็นยาอายุวัฒนะ กล้วยเป็นผลไม้ที่หาซื้อง่ายมีขายทุกฤดูกาลไม่แพงมากจะเกินไป บางคนยังนิยมปลูกกล้วยเป็นไม้มงคลประดับบ้านอีกด้วย แต่เมื่อมีกล้วยอยู่ในบ้านเราจะแปลงกล้วยมาเป็นอาหารได้อีกหลายวัน อย่างเช่น ต้องการเก็บไว้ได้นานหรือส่งไปให้คนที่อยู่แดนไกลก็กล้วยตาก กินกันสนุกหยุดไม่ได้ก็กล้วยฉาบ เป็นของว่างทานอร่อยระหว่างมื้อก็กล้วยทอด แต่จะมีสักกี่คนที่จะนำกล้วยและผลไม้อื่นมาผสมผสานเป็นน้ำสลัด ครั้งนี้เราจะมาเรียนรู้การทำน้ำสลัดกันอย่างง่ายๆ กับผลไม้ที่เรียกว่ากล้วย
เมนู บานาน่าครีมสลัด
1. กล้วยน้ำว้า 2 ลูก
2. น้ำแอปเปิลเขียวสกัด 1 ลูก
3. เกลือ นิดหน่อย
4. น้ำมะนาว ? ช้อนชา
วิธีทำ
นำส่วนประกอบทุกอย่างลงในเครื่องปั่นน้ำผลไม้แล้วปั่นให้ละเอียดประมาณ 5 นาที ก็จะได้ครีมสลัดที่อร่อยมาโรยในจานสลัดที่เตรียมไว้แล้ว พร้อมเสิร์ฟ


ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การดูแลสุขภาพ เมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง


   
เชื่อว่าคงไม่มีใครที่อยากแก่ ยิ่งสำหรับบรรดาสาวๆ ด้วยแล้ว ยิ่งไม่อยากโบกมือลาความสาวไป แต่เมื่อถึงเวลาใกล้ถึงวัย 40 ด้วยแล้ว คุณผู้หญิงจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นทั้งร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่เริ่มก้าวเข้าสู่ "วัยทอง" ที่เป็นปัญหากวนใจในเรื่องของสุขภาพที่มาบั่นทอนการดำเนินชีวิตของผู้หญิง   
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ร.ต.ต.นพ.อัญวุฒิ ช่วยวงษ์ญาติ สถาบันการแพทย์ผสมผสานตรัยยา กล่าวว่า ผู้หญิงเมื่อใกล้เข้าสู่วัยทอง เป็นภาวะหมดรอบเดือน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อร่างกายและจิตใจ ยิ่งเมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ร่างกายก็เริ่มเสื่อมลง เป็นสาเหตุที่ต้องหันมาดูแลเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น     
"วัยทองจะมีอายุประมาณ 40 ปี ถ้ามีรอบเดือนอยู่ ก็ยังไม่ได้เป็นวัยทอง เพราะขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของตัวเอง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ก็จะมีลักษณะที่เหมือนกัน ในเรื่องของสภาพจิตใจ และ เนื้อเยื่อของเซลล์ ส่วนที่ต่างกันแค่ลักษณะของเพศ และระดับฮอร์โมนการลดลงของฮอร์โมนเพศชายจะไม่เหมือนเพศหญิง" ร.ต.ต.นพ.อัญวุฒิ อธิบาย
สำหรับอาการจะที่พบได้เมื่อเข้าสู่วัยทอง คุณหมอท่านนี้บอกว่า จะมีอารมณ์แปรปวน และหงุดหงิดง่าย นอกจากนี้ยังภาวะของคนขี้โมโห เครียด นอนไม่หลับ จนรู้สึกไม่สบายร่วมด้วย 
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะส่งผลให้เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยคุณหมอท่านนี้ เผยว่า การเปลี่ยนแปลงมีทั้งทางพฤติกรรมและเรื่องของฮอร์โมน อย่างเช่น เมื่อเกิดความเครียดจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่ไม่ดี ก็จะไปกระตุ้นให้การทำงานของเซลล์ของร่างกายเสื่อมลง เพราะฉะนั้นจิตใจมีผลโดยตรงต่อร่างกายอย่างมาก อาจจะทำให้เราเกิดป่วยได้ง่าย
"เซลล์ คือส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายคนเรา ดังนั้น ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองจึงต้องดูแลสุขภาพ พร้อมกับการดูแลเรื่องของเซลล์ควบคู่กัน เพื่อจะได้ห่างไกลจากโรคร้าย ควรหมั่นเช็คในเรื่องของสุขภาพของผู้หญิง โดยการอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง เพื่อหาสารก่อมะเร็ง โดยการตรวจเลือดจะเป็นตัวประเมินโรคได้ อย่างเช่น มะเร็งเต้านม ปากมดลูก
แม้ว่าเซลล์มีหน้าที่คุ้มกัน จึงจำเป็นต้องกำจัดของเสียออกไป ก็จะช่วยให้ร่างกายคนเราดีขึ้น รวมไปถึงสภาพของจิตใจ ทำให้เซลล์เสื่อมช้า โอกาสที่จะเป็นวัยทองก็จะช้าลง จะมีความเปล่งปลั่งในเรื่องของผิวพรรณ ความสวยความงาม" คุณหมออธิบายเพิ่มเติม  
ฉะนั้น การดูแลสุขภาพที่ดี เป็นวิธีป้องกันก่อนเกิดโรค โดยผู้หญิงที่กำลังเข้าอยู่ช่วงวัยทองสามารถดูแลเซลล์ในร่างกายให้ดีได้ 3 ประการดังนี้ค่ะ 
1. ให้เซลล์ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ด้วยการออกกำลังให้ดี หลีกเลี่ยง มลภาวะถ้าเป็นไปได้
2. ไม่ให้เซลล์ต้องขาดน้ำ เพราะว่าน้ำจะช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพ
3. ใส่ใจในเรื่องของอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่   
อย่างไรก็ตาม นพ.อัญวุฒิ ได้บอกเพิ่มต่อว่า วิธีที่จะช่วยรับมือกับวัยทองให้ดี ต้องเริ่มมาจากการ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เพียงพอต่อร่างกายของเรา ควรดื่มน้ำอยู่เป็นประจำ ถือว่าสิ่งสำคัญมาก พร้อมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหม ควรออกแต่พอควร เมื่อออกกำลังกาย ก็จะมีออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดีขึ้น นั่นคือสิ่งที่เราก็ต้องป้องกันโรค 
ถือได้ว่า การเตรียมพร้อมในช่วงที่อายุมากขึ้น คุณผู้หญิงควรหมั่นไปตรวจในเรื่องของฮอร์โมน ทุก 2 เดือนหรือ 3 เดือน เพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นค่ะ อย่ารอให้มีอาการแล้วค่อยไปพบแพทย์ เพราะถึงตอนนั้นตัวโรคอาจลุกลามไปมากแล้วก็ได้


ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สารบีพีเอ มหันตภัยร้ายในขวดนมลูกน้อย


ปัจจุบัน ปรากฏมีข่าวเพิ่มมากขึ้นในสื่อสารมวลชนเกี่ยวกับสารบิสฟีนอล-เอ  (Bisphenol-A)  หรือ  เรียกย่อๆว่า บีพีเอ (BPA)    ที่มีการระบุว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพ และความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในเด็กเล็กและทารก  ความเสี่ยงที่มีการกล่าวถึงมีหลายประการ ได้แก่ ความเบี่ยงเบนทางเพศ ความเปลี่ยนแปลงทางการเจริญพันธ์ที่เร็วขึ้น เช่น มีประจำเดือนเร็วขึ้น มีผลกระทบต่อการพัฒนาการทางสมอง มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน เป็นต้น การที่เด็กเล็กและทารก มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากการขับถ่ายสารบีพีเอที่อยู่ในร่างกายของเด็กเล็กและทารกเป็นไปช้ากว่า จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเชิงป้องกัน
อันตราย จาก สารบีพีเอ ในขวดนมทารก
ในต่างประเทศ สหภาพยุโรป ได้มีการประกาศห้ามใช้สารบีพีเอในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเด็ก เริ่มต้นก่อนและมีผลบังคับใช้แล้วในปีนี้ ประเทศต่างๆ ได้ดำเนินมาตรการเชิงบังคับเช่นเดียวกัน ได้แก่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา ในรัฐต่างๆ รวม 9 รัฐ สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรส และ ล่าสุด ประเทศจีน และประเทศมาเลเซีย ได้มีประกาศการห้ามใช้สารบีพีเอ ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเด็ก เป็นลำดับต่อมา
ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2553  สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ได้เริ่มประกาศเตือนประชาชนในปีที่แล้วในเรื่องที่เกี่ยวกับความเสี่ยงของสารบีพีเอในชวดนมเด็ก  ทั้งนี้ พญ.นัยนา ณีศะนันท์ กุมารแพทย์ หน่วยกุมารเวชศาสตร์สังคม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า สารบีพีเอ ซึ่งใช้ในการผลิตพลาสติกชนิดแข็งใสที่เรียกว่า โพลีคาร์บอเนตเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตขวดนมสำหรับเด็ก เมื่อถูกความร้อนจากการต้มขวดนมจะทำให้สารบีพีเอ ละลายออกมาปนเปื้อนในอาหาร ทั้งนี้เห็นว่า ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารบีพีเอที่มุ่งใช้กับเด็กและทารก
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงว่า อย.คงไม่ประกาศห้ามใช้ หรือควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารบีพีเอ เนื่องจากอันตรายจากการปนเปื้อนสารดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองในสัตว์ และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการทดลองในมนุษย์ อีกทั้งในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ ก็ยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาบังคับใช้กับประชาชนของประเทศ
สหภาพองค์กรผู้บริโภค (Consumer Union) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานผู้บริโภค (Consumer Report) ได้ประกาศที่จะผลักดันกฎหมายยกเลิกการใช้สารบีพีเอในภาชนะบรรจุอาหารสำหรับทารก ทั้งนี้มีการเรียกร้องผู้ผลิตให้แสวงหาแนวทางการผลิตที่ปลอดภัยกว่าสำหรับเด็กและทารก รวมทั้งชื่นชมภาคธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีการผลิตภาชนะบรรจุอาหารสำหรับทารกที่ไร้สารบีพีเอ
โดยที่ผู้บริโภคมีหน้าที่เรียกร้องสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย (Right to safety) องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นตัวแทนในระดับต่างๆ จึงควรให้ความสนใจในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและทารก ซึ่งไม่สามารถปกป้องตนเองได้ องค์กรผู้บริโภคซึ่งมีหน้าที่พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจึงควรจัดการความรู้ทางวิชาการ ทำการศึกษาให้ชัดเจนถึงความเสี่ยงต่อเด็กและทารกจากสารบีพีเอที่มีการกล่าวถึง และหากมีความชัดเจน จำเป็นต้องมีการสื่อสารสู่สาธารณชน และผลักดันให้เกิดมาตรการบังคับที่ทัดเทียมกับมาตรฐานในระดับสากล



ที่มา : แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดย รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์
ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

เด็กไทยติดยาเสพติดมากกว่า 3 แสน เยอะมาก


"เอแบค" เผยผลสำรวจพบเด็กไทยใช้ยานรกพุ่งกว่า 3 แสนคน แนะภาครัฐเร่งเอกซเรย์ทุกพื้นที่ ส่วนสังคมช่วยสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ประสานงานตร.
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เปิดเผยถึงโรงการเฝ้าระวังและรักษาคุณภาพอนาคตเยาวชนไทย ในงานวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ผลประมาณการเด็กและเยาวชนใช้ยาเสพติด แนะแนวทางแก้ไข กรณีศึกษาตัวอย่างอายุ 12-24 ปี จากกลุ่มเด็กและเยาวชนเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,606,256 คน ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 1-15 สิงหาคม ที่ผ่านมา จำนวน 1,815 ตัวอย่าง โดยการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นและมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบครั้งนี้ พบว่าเด็กและเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ใช้ยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่) มีอยู่ 202,392 คน และจำนวนมากที่สุด คือ 327,682 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.4 ของประชากรทั้งหมด (ไม่นับประชากรแฝง และกลุ่มแรงงานต่างชาติ) โดยแนวทางแก้ไข คือ
1.สร้างเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ หรือ "โซเชียลเน็ตเวิร์กลดปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม" จริงจังต่อเนื่อง ด้วยการใช้ระบบแจ้งข่าวของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนทุกคนช่วยเฝ้าระวังสกัดกั้นขบวนการค้ายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ
2.ตรวจค้นครั้งหใญ่ หรือการเอกซเรย์ทุกชุมชน ซุ้มบ้านเช่า โรงเรือนต่างๆ เพื่อขจัดโอกาสและตัดวงจรเครือข่ายขบวนการค้ายาเสพติดและกลุ่มผู้สนับสนุน
3.ปฏิรูประบบบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ โดยทำให้การคัดกรองผู้เข้ารับการบำบัดให้โปร่งใส ไม่ให้มีการตบทรัพย์ปรับผู้ค้ามาเป็นผู้เสพแล้วเข้าไปสร้างเครือข่ายขบวนการค้าในสถานบำบัดแต่นำระบบฐานข้อมูลติดตามผู้ผ่านบำบัดที่มีประสิทธิภาพติดตามผู้เสพเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขากลับกลายเป็นคนดีของสังคม ประกอบอาชีพที่สุจริตไม่เป็นภัยต่อสังคมและมีความมั่นคงในชีวิตอย่างปกติสุขแท้จริง


ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เพื่อนให้แนวทางมา

เพื่อนได้ให้แนวทางในการทำมา ก็เลยอยากเอามา share ให้คนอื่น ๆ ได้เอาไปใช้บ้าง เพื่อจะมี ประโยชน์นะ ถ้าใครรู้แล้วก็ไม่ว่ากันนะ พอดีว่าเพิ่งรู้มา

ก็ไปสมัครแนว link ที่อยู่ด้านล่างนี้นะ เช่น
http://www.mydentalessence.com/member/32590/ ก็จะได้มี link กับมาหาเรา

หรือว่า ที่นี่ก็น่าสนใจเหมือนกันนะ
http://www.moore-pr.com/member/44857/

อันนี้เราลอง search หามาเอง ก็ใช้ได้เหมือนกัน
http://www.mi-offroad.com/index.php?/member/6048/

ก็ลองเอาไปใช้ดูละกันนะ หวัง่าคงมีประโยชน์กับเพื่อน ๆ เหมือนกันนะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทราบหรือไม่ว่า อาหารเช้าสำคัญมากนะ


คุณทราบหรือไม่ว่า อาหารเช้าที่สำคัญที่สุดต่อสุขภาพร่างกาย  ในปัจจุบันนี้คนจำนวนมากมิได้ให้ความสำคัญกับอาหารเช้า  เนื่องจากต้องเร่งรีบแข่งกับเวลาเพื่อไปเรียนหรือไปทำงาน  หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ
          คนไทยเราจะให้ความสำคัญกับอาหารเย็น  เน้นว่าเป็นมื้อที่ต้องรับประทานอาหารหนัก ๆ  มากว่ามื้อกลางวัน  ส่วนมื้อเช้านั้นบางคนข้ามไปเลย  บางคนก็รับประทานเครื่องดื่มพียง 1 แก้วเท่านั้น
          ลองมองให้ดีจะพบว่าคุณจะรู้สึกไม่สดชื้นกระปรี้กระเปร่าถ้ามื้อเช้าคุณไม่ ได้ให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ  คืออาหารโปรตีนสูงและไขมันอย่างเพียงพอ
          อาหารเช้าที่กินมากเกินไปก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  ร่างกายต้องการเพียงสารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณไม่มากนัก  เพื่อที่คุณจะได้มีกำลังวังชา  สมองปลอดโปร่ง  กระปรี้กระเปร่า  พลังงานจะอยู่ในร่างกายคุณเป็นเวลานานและทำให้คุณไม่หิวบ่อยถ้าได้รับประทาน อาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย

          อาหารเย็นไม่ควรเป็นมื้อหนักสำหรับคุณ  เพราะคุณอาจยังไม่รู้สึกหิวในมื้อเช้า

การดูแลเส้นผมด้วยนมเปรี้ยว


 1.เส้นผม เป็นมันจะทำให้ทรงผมดูลีบแบน และมี รังแค ง่ายคุณสามารถบำรุง เส้นผม ให้ผมที่มีความมัน  ลดระดับความมัน  และมีความสมดุลพลิ้วสลวยขึ้นได้  ด้วยการผสมไข่ไก่ 1 ฟองลงในนมเปรี้ยวประมาณ 1 แก้ว  นำมาตีๆ ให้เข้ากัน  หรือจะใช้เครื่องปั่นก็ได้  ไข่ไก่นั้นใช้ทั้งฟองได้เลยไม่ต้องคัดไข่ขาวทิ้ง
        
 2.ราดน้ำให้ เส้นผม เปียกชุ่มแล้วจึงหมักนมเปรี้ยวผสมไข่ไก่ให้ทั่วทั้งศรีษะ กะดูให้ครีมหมักชโลม เส้นผม อย่างทั่วถึง  แล้วหมักผมทิ้งไว้นาน 10-15 นาทีจึงล้างออกให้สะอาดก่อน สระผม ตามปกติ เพียงแค่นี้ สุขภาพ ของ เส้นผม ก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคอ้วน (ตอนที่ 2)

โรคอ้วน (ตอนที่ 2)
รศ.พ.ญ. ปรียานุช แย้มวงษ์
สาขาวิชาโภชนศาสตร์คลินิก
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อ้วนแล้วจะลดน้ำหนักได้อย่างไร
            การ ลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุด ต้องทำร่วมกันระหว่างการควบคุมอาหารที่ทานเข้าไป กับการออกกำลังกาย หากทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งมักไม่ได้ผลดี
            การ ควบคุมอาหาร ที่แนะนำโดยทั่วไปคือกินอาหารครบ 5 หมู่ตามธรรมดา แต่ลดปริมาณในแต่ละมื้อลง โดยเฉพาะมื้อเย็น ควรทานเป็นอาหารเบาๆ พลังงานต่ำ ไม่ควรอดอาหารเป็นมื้อๆ เพราะจะทำให้หิวและทานมากขึ้นในมื้อต่อไป ควรเน้นทานผัก เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่นไขมัน และน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวาน ไอศครีม ช็อคโกแล๊ต ขนมหวานต่างๆ ผลไม้หวานจัด เป็นต้น
            ปัจจุบัน มีการแนะนำให้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่า 20 กรัม (หรือข้าวประมาณ 1 ทัพพี) ต่อวัน โดยสามารถกินอาหารอื่นๆ ได้ตามต้องการ หรือที่เรียกกันย่อๆว่าอาหาร โลว์คาร์บ (Low carbohydrate diet) วิธีนี้พบว่าได้ผลดีในช่วงสั้น เพราะระยะแรกๆ น้ำหนักจะลดได้ดีกว่าการลดพลังงานทั่วไป แต่หลัง 6 เดือนไปแล้ว พบว่าอัตราการลดน้ำหนัก เท่าๆ กับการกินอาหารพลังงานต่ำทั่วไป และมีปัญหาแทรกซ้อนได้มากกว่า จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากจะลดน้ำหนักโดยวิธีนี้
            การออกกำลังในคนอ้วน ควรเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายต่อเนื่องกันอย่างน้อย ½ ชั่วโมงต่อวัน แต่จะให้ได้ผลดีควรออกกำลัง 1-1½ ชั่วโมงทุกวัน หากน้ำหนักมาก ควรหลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือกระโดด ซึ่งจะทำให้กิดปัญหาเรื่องข้อเข่า ข้อเท้าได้

มีวิธีลดน้ำหนักอื่นอีกไหม
          ถ้ามี BMI มากกว่า 27 กก./ม2 หรือมีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง แพทย์อาจให้ยาช่วยลดน้ำหนัก ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่มคือยาที่ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น หรือยาที่ลดการดูดซึมไขมันจากอาหาร ยาทั้ง 2 แบบมีราคาแพง และเมื่อหยุดยา น้ำหนักตัวก็จะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นถ้าควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวได้เองจะดีกว่า
            ในกรณีที่ BMI มากกว่า 35 กก./ม2 หรือมีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง มีการรักษาโดยการผ่าตัดให้กระเพาะอาหารเล็กลง ทำให้หลังอาหารผู้ป่วยจะสามารถกินอาหารได้เพียงเล็กน้อยในแต่ละมื้อ น้ำหนักจึงลดลงได้ แต่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารไปตลอดชีวิตเช่นกัน
            คน ที่อ้วน การลดน้ำหนักจะทำได้ยาก ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คือคอยเฝ้าระวังน้ำหนักตัว อย่างปล่อยให้อ้วน โดยการระวังเรื่องอาหารที่ทาน ร่วมกับการออกกำลังให้สม่ำเสมอ เป็นการป้องกันดีกว่ามาแก้ไขทีหลัง

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคอ้วน (ตอนที่ 1)


โรคอ้วน (ตอนที่ 1)
รศ.พ.ญ. ปรียานุช แย้มวงษ์
สาขาวิชาโภชนศาสตร์คลินิก
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เมื่อไรจึงจะเรียกว่าอ้วน?
            ปัจจุบันใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นค่าตัดสินความอ้วน เพราะคนที่มี BMI สูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลายๆ ชนิด การคิด BMI มีสูตรดังนี้
                        BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
                                    ความสูง 2 (เมตร)

โดย BMI ในคนเอเซียจะมีการแบ่งลำดับดังตาราง   



ระดับ
BMI (กก./.2)


ปกติ
18.5 - 22.99


น้ำหนักเกิน (Overweight)
อ้วน ระดับ 1
อ้วน ระดับ 2
Morbid obesity
23.0 - 24.99
25.0 - 29.99
30.0 - 34.99
> 35.0*


* หรือต่ำกว่า ถ้ามีโรคหลอดเลือดหรือเบาหวานร่วมด้วย

อ้วนแล้วใครเดือดร้อน?
การมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต หลายอย่าง โดยทำให้เกิด
1.      โรคข้อและกระดูก ที่พบบ่อย ได้แก่ข้อเข่าและข้อเท้าเสื่อม ทำให้ปวด เดินไม่ได้ ปวดหลัง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์มากขึ้น
2.      โรคต่อมไร้ท่อ คนที่อ้วนลงพุง (เอวใหญ่กว่า 35.5 นิ้ว ในเพศชาย และ 31.5 นิ้ว ในเพศหญิง) จะมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูงมากขึ้น ผู้หญิงที่อ้วนมาก อาจมีประจำเดือนผิดปกติ โดยส่วนใหญ่เด็กมักมีประจำเดือนครั้งแรกเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกัน, ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอและมักไม่มีการตกไข่ และถึงวัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ
3.      โรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีกลุ่มอาการที่เรียกว่า metabolic syndrome ซึ่งได้แก่คนที่อ้วนลงพุง มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ระดับไขมันชนิดดี (High-density lipoprotein หรือ HDL) ต่ำ มีความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งคนที่มีอาการกลุ่มนี้ จะมีการดื้อต่ออินสุลิน และมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนทั่วๆ ไป เพราะฉะนั้น หากใครมีความผิดปกติในกลุ่มนี้ต้องรีบลดน้ำหนักเร็ว
4.      โรคระบบหายใจ ผู้ที่อ้วนมากอาจมีนอนกรน และหากรุนแรงจะมีหยุดหายใจเป็นพักๆ จึงนอนหลับไม่สนิทจนบางครั้งจะง่วงและนั่งหลับตอนกลางวัน ถ้าปล่อยไว้นาน จะมีแรงดันเลือดในปอดสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดหัวใจวายได้
5.      โรคผิวหนัง จะมีโอกาสติดเชื้อราได้ง่าย มักพบบริเวณขาหนีบหรือรอยพับของผิวหนัง นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดตามขาได้ด้วย
6.      โรคมะเร็ง จะมีโอกาสเกิดมะเร็งหลายอย่างมากขึ้น เช่นมะเร็งเยื่อบุมดลูก  และมะเร็งเต้านมในเพศหญิง, มะเร็งต่อลูกหมากและหลอดอาหารในเพศชาย
7.      โรคนิ่วในถุงน้ำดี
8.      มีปัญหาทางจิตใจและสังคม อาจมีปมด้อยเกี่ยวกับรูปร่าง เป็นที่ล้อเลียนและไม่เป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง เสียโอกาสในการทำงานบางด้าน

ทำไมคนเราถึงอ้วน?
          คน อ้วนมักโทษว่าเป็นกรรมพันธุ์ แต่จริงๆ แล้วกรรมพันธุ์อาจมีส่วนบ้าง แต่ไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นจากการทานอาหารมาก และไม่คอยออกกำลัง มีส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการที่มีฮอร์โมนผิดปกติ ทั้งจากโรคภายในร่างกาย หรือการกินยากลุ่มเสตียรอยด์ (อาจได้จากยาจีน ยาลูกกลอน ยาชุดบางชนิด)

หนาวนี้ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร


หนาวนี้ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร
รศ.นพ.ประเสริฐ  อัสสันตชัย
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
           เมื่อ ย่างเข้าสู่ช่วงปลายปี อากาศก็จะเริ่มหนาวเย็นลง หลายคนรู้สึกชื่นชอบช่วงเวลานี้ แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้ว อากาศที่หนาวเย็นลงอาจจะซ่อนภัยร้ายต่อสุขภาพได้ ถ้าหากไม่ระมัดระวังเตรียมสุขภาพให้แข็งแรงเข้าไว้
ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ 

          1. โรคในระบบทางเดินหายใจ 
           เช่น ไข้หวัด ซึ่งมักจะไม่มีอาการรุนแรงและสามารถหายได้เอง ในระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพอ่อนแอ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้บ่อย เช่น อาการขาดน้ำเนื่องจากไข้สูง ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้น ขณะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อาจนำไปสู่ภาวะไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง และปอดอักเสบได้ แต่ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป  ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส influenza ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดย่อยที่ติดต่อจากคนไปคน คือ  ชนิด A  B และ C ปัจจุบันมีวัคซีนที่ครอบคลุมเชื้อทั้ง 3 ชนิดย่อยนี้ในเข็มเดียวกัน สำหรับฉีดให้ผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการติดเชื้อแล้ว โดยควรฉีดปีละครั้ง

          2. อาการคันเนื่องจากผิวหนังแห้ง (xerosis)
         เมื่อ เข้าสู่วัยชรา ต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะมีจำนวนลดลง การผลิตสารไขมันเพื่อเคลือบผิวหนังก็น้อยลง ยิ่งถ้าในช่วงอากาศหนาว ความชื้นในอากาศลดลง จะทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงลงไปมาก ส่งผลให้ขาดความชุ่มชื้น ปลายประสาทที่ใต้ผิวหนังถูกกระตุ้นจนเกิดอาการคันอย่างมาก และถ้ายิ่งเกาจนเกิดเป็นแผลแตกจะยิ่งทำให้ผิวหนังอักเสบเรื้อรังตามมาได้

          3. การกำเริบรุนแรงของโรคในระบบไหลเวียนเลือด
            ผู้ สูงอายุในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น มักจะไม่ค่อยอยากออกไปนอกบ้านเพื่อออกกำลังกาย การรับประทานอาหารก็อาจเป็นอาหารที่มีไขมันสูง ยิ่งกว่านั้น เมื่อได้รับอากาศที่หนาวเย็น หัวใจต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความต้องการออกซิเจนเพิ่มมาก ดังนั้นหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวในระบบไหลเวียนเลือด อาทิเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง ก็อาจทำให้โรคเดิมเหล่านี้กำเริบขึ้นได้ แต่ก็เบาใจได้ในระดับหนึ่งเพราะ ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า ถ้ามีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะสามารถลดอุบัติการณ์ของโรคกล้ามเนื้อ หัวใจตายและโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้ถึงร้อยละ 50

          4. ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายลดลงมากผิดปกติ (hypothermia)
            เนื่องจากประสาทรับรู้อากาศที่หนาวเย็นที่ผิวหนังลดความไวลง ร่าง กายไม่สามารถตอบสนองด้วยการหนาวสั่นหรือการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิด ความร้อนได้ดีเหมือนคนหนุ่มสาว ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหลอดเลือดที่ผิวหนังไม่ให้สูญเสียความร้อนออก จากร่างกายก็เสื่อมลง โรคที่อาจพบร่วมด้วยในผู้สูงอายุก็อาจส่งเสริมให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้นได้ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด การได้รับยาบางชนิด เช่น opioids, benzodiazepines การ ดื่มสุรา หรือการที่อยู่คนเดียวโดยไม่มีผู้ดูแลเรื่องเครื่องนุ่งห่มอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยอาจมีอาการตั้งแต่อ่อนเพลีย ท้องอืดจากลำไส้ไม่ทำงาน ซึมลง หายใจช้า ชีพจรเต้นช้า ปัสสาวะลดลงจนหมดสติและอาจเสียชีวิตในที่สุด
             นอก จากนั้น ยังอาจพบอาการอื่นๆ อีกได้ เช่น อาการปวดข้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคปวดข้อเรื้อรังอยู่เดิม อากาศที่หนาวเย็นอาจจะกระตุ้นให้โรครุนแรงขึ้นได้ หรืออาจกระตุ้นให้โรคเก๊าท์กำเริบขึ้น ท้องผูกรุนแรงขึ้น เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำ ทำให้ลำไส้ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น

3 ระดับการป้องกันเพื่อคนสำคัญ
            1. ระดับปฐมภูมิ (primary prevention)
             เป็นการป้องกันโรคตั้งแต่ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะสุขภาพดี ได้แก่ การรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอที่ประมาณ 37 องศา เซลเซียสตลอดเวลา ด้วยการใช้เครื่องนุ่มห่มให้เพียงพอ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในฝูงชนที่มีการระบายอากาศไม่ดี เพราะอาจรับเชื้อไวรัสไข้หวัดจากผู้อื่นได้ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะมีผลดีอย่างมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจวาย ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เช่นผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ส่วนผู้สูงอายุที่กำลังได้รับยาประจำเพื่อควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ก็ ไม่ควรขาดยา กรณีที่ต้องการไปเที่ยวพักผ่อนกับครอบครัวในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการเดินทาง

             2. ระดับทุติยภูมิ (secondary prevention)
             เป็น การป้องกันโรคตั้งแต่ในระยะแรกที่เริ่มแสดงอาการของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้โรคดำเนินไปจนเข้าสู่ระยะรุนแรง สำหรับผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัวเมื่อเริ่มเข้าสู่อากาศที่หนาวเย็น ควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่หนาและอบอุ่นพอ หลีกเลี่ยงสถานที่มีอากาศเย็น ดื่มน้ำอุ่นเสมอ ไม่อดนอน และถ้าเริ่มมีอาการไม่สบาย เช่น อาการไข้ เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก การจัดหายาลดไข้รับประทานเองเช่น ยาพาราเซตตามอล อาจทำได้ในผู้ที่มีสุขภาพดี พึงระวังว่ายาลดน้ำมูกและยาแก้ไอที่มีสารโคเดอีนผสมอยู่ มักทำให้มีอาการง่วงซึม อาจทำให้การดูแลตนเองลดลงได้ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารและดื่มน้ำอาจไม่เพียงพอ  ส่วนผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่แข็งแรงอยู่เดิม ควรรีบปรึกษาแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการดังกล่าว
            กรณี ที่เริ่มมีอาการคันตามผิวหนังจากผิวหนังแห้ง ควรใช้ยาประเภทโลชั่นทาผิวเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง โดยเฉพาะภายหลังอาบน้ำอุ่นเสร็จใหม่ ๆ ผู้ที่มีอาการแพ้ได้ง่ายระวังว่า น้ำยาโลชั่นที่วางขายในท้องตลาดอาจใส่น้ำหอมทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ทำให้ยิ่งมีอาการคัน จึงควรใช้โลชั่นประเภทที่ใช้กับผิวเด็กอ่อนจะปลอดภัยกว่า และควรทาผิวหนังวันละหลายๆ ครั้ง เพราะสารเคลือบผิวจะหลุดลอกออกได้เมื่อเวลาผ่านไป

            3. ระดับตติยภูมิ (tertiary prevention)
              หมาย ถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการจากโรคนั้นที่ได้แสดงอาการชัดเจน แล้วและกำลังได้รับการรักษาอยู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคในระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการของโรคเดิมรุนแรงขึ้น

              อย่าลืมนะครับว่า การดูแลและความเข้าใจในธรรมชาติของผู้สูงอายุจะต้องมีความรักและกำลังใจจากลูกหลานเป็นพื้นฐาน ถึงจะช่วยให้ท่านมีชีวิตที่ยืนยาวได้ 

เคล็ด (ไม่) ลับกับความสุขใจในวัยทำงาน


เคล็ด (ไม่) ลับกับความสุขใจในวัยทำงาน
รศ.ดร.สุชีรา  ภัทรายุตวรรตน์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราพยาบาล

            เมื่อพิจารณาพัฒนาการของมนุษย์เราแล้ว จะเห็นได้ว่า ช่วงของวัยทำงานดูจะเป็นช่วงที่ยาวนานที่สุด คือจากอายุ 20 – 60 ปี (เกษียนอายุ  60 ปี หรือในปัจจุบันขยายช่วงอายุการต่อเกษียณออกไปเป็น 65 ปี ) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์ใช้เวลาถึง 40 ปีกับการใช้ชีวิตในการทำงาน บางท่านก็พบว่า 40 ปี แห่ง การทำงานนั้นช่างเป็นช่วงแห่งการทนทุกข์ทรมานเสียเหลือเกิน ในขณะที่คนบางคนกลับพบว่า มันช่างเป็นช่วงแห่งความมีความสุขของชีวิต  ประการหลังนี้ถือว่าเป็นความโชคดีเป็นอย่างยิ่ง
            ประเด็นเกี่ยวกับทำอย่างไรให้มีความสุขกับการทำงานนั้น มีผู้กล่าวถึงเทคนิคและแนวทางกันอย่างมากมาย  มีทั้งแต่งตำรา หรือเขียนเป็นหนังสือ และพบว่าติดอยู่ในกลุ่มประเภทหนังสือที่ขายดี (best seller)มากที่สุดก็ว่าได้ หรือบ่อยครั้งก็สรุปเป็นประเด็นสั้น ๆ เช่น บัญญัติ 10 ประการกับการทำงานให้มีความสุข, 1 2 3 4 5 ….วิธีกับความสุขในการทำงาน,  30 วันกับ 30 วิธีในการทำงานให้มีความสุข เป็นต้น

 เทคนิค 5 - เคล็ด (ไม่) ลับกับความสุขใจในวัยทำงาน
            เนื่องจากเรากำลังอยู่ในกระแสของ 5 ส เพื่อเพิ่มการทำงานให้มีประสิทธิภาพ  ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายหรือเรียกว่าท็อปฮิตติดตลาดก็ว่าได้  และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เราก็ต้องปฏิบัติตามไม่มากก็น้อย จึงขอโหนกระแสของ เทคนิค 5   มาใช้กับการนำเสนอ เทคนิค 5 - เคล็ด (ไม่) ลับ กับความสุขใจในวัยทำงาน   เพื่อเป็นทางเลือก สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มเครียด หรือรู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำงาน
  
ส ที่ 1  สดชื่น
          เริ่มงานอย่างสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ปลอดโปร่ง
ความ สดชื่น กระปรี้กระเปร่า ปลอดโปร่ง จะช่วยให้สมองโล่ง ตื่นตัวที่จะคิดและทำงานทั้งง่ายและยากได้อย่างสดใส ไม่กลัว และมีมุมมองต่องานและปัญหาได้อย่างแหลมคมเสมอ
            การ พักผ่อนเป็นสิ่งที่สำคัญกับชีวิตของการทำงาน ถ้าเราพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้การทำงาน ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดเวลาพักผ่อน เวลาทำงาน และเวลาอื่นๆ ให้เหมาะสมกับชีวิตของตนเอง มีสูตรง่าย ๆ ในการจัดสรรเวลาของเราในช่วง 1 วัน ดังนี้คือ แบ่งเวลา 24 ชั่วโมง ออกเป็น 3 ส่วน คือ 8-8-8  โดยส่วนแรกสำหรับการนอนหลับ ส่วนที่สองสำหรับการทำงาน และส่วนที่สามสำหรับการพักผ่อนหรือการทำงานอดิเรก   จะช่วยสร้างพลังให้แก่คุณ เพื่อออกไปรบรากับภารกิจมากมายที่คอยท่าอยู่ในวันรุ่งขึ้น
            นอกจากนี้การออกกำลังกายก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้คุณสดชื่น  การ ออกกำลังกายเมื่อรู้สึกเครียดจากการทำงานการออกกำลังกายจนเหนื่อยและเหงื่อ ออกจะช่วยคลายเครียดได้หลังเลิกงานหรือในวันหยุดควรออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา กับกลุ่มเพื่อนจะรู้สึกสนุกสนานและเพลิดเพลินยิ่งขึ้นการช่วยกันทำงานบ้านใน วันหยุดก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดีและช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบ ครัว
และอย่าลืมเรื่ออาหารการกิน มีผู้กล่าวไว้ว่า (ต้องใช้คำนี้เนื่องจากฟัง ๆ มาโดยไม่สามารถอ้างอิงได้ว่าผู้ใดกล่าวไว้เป็นคนแรก) คือรับประทานอาหารเช้าอย่างราชา ทานอาหารกลางวันอย่างสามัญชน และรับประทานอาหารเย็นอย่างยาจก ซึ่งหมายความว่า ควรทานอาหารเช้าให้มาก จะได้มีสมองและร่างกายที่พร้อมจะทำงาน  อาหารกลางวันทานแต่พอเหมาะ และทานอาหารเย็นแต่น้อย นั่นเอง

ส ที่ 2  สู้งาน
            งานคือความท้าทาย(ที่ไม่หยุดนิ่ง)  มัก จะมีสิ่งต่าง ๆ เข้ามาให้เราต้องคอยแก้อยู่เสมอ อย่าใช้แค่ความเคยชินทำงาน (นั่นหมายความว่าคุณกำลังทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม) แต่ต้องตื่นตัวที่จะเรียนรู้กลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้พิชิตปัญหา งานจะสำเร็จได้ดั่งใจเสมอ และตัวคุณเองก็จะพัฒนาก้าวหน้าได้มากตามไปด้วย
            ลักษณะ ผู้ที่สู้งานคือ มีความมุ่งมั่น อดทน แข็งแกร่ง (ล้วนแล้วแต่เป็นคำที่ฟังแล้วดูมีพลัง)ในการฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ความมุ่งมั่นจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักของความสำเร็จในอาชีพการงาน ซึ่งจะช่วยให้คุณบรรลุความสำเร็จ ถึงแม้ว่างานที่ได้รับมอบหมายนั้นจะยากลำบากก็ตาม และยังเป็นกุญแจสำคัญให้คุณก้าวถึงจุดมุ่งหมายของอาชีพการงานในระยะยาวอีก ด้วย   โดยทั่วไปผู้ที่มีความมุ่ง มั่นก็มักจะมีความกระตือรือร้นและรู้จักหน้าที่ของตนเอง ถ้าคุณรักงานที่ทำอยู่ คุณภาพของงานก็จะโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด
            อย่างไรก็ตามอย่าจริงจังกับงานและชีวิตจนเคร่งเครียด  แบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ แล้วลำดับความสำคัญของงาน โดยเริ่มด้วยการสะสาง  ลงมือ แล้วแก้ไข  ในที่สุดคุณก็ทำได้

ส ที่ 3  สัมพันธภาพ
         
สัมพันธภาพเริ่มจากการเริ่มต้นทักทาย การแสดงความเป็นมิตรกับบุคคลต่าง ๆ  รวม ไปถึงการแสดงความรู้สึกเป็นห่วงเป็นใย การแสดงไมตรีจิตกับผู้อื่น ตลอดจนการแสดงกิริยาท่าทางและการใช้วาจาเพื่อสร้างความคุ้นเคย การรักษาความสัมพันธ์อันดีงามไว้ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้คุณมีเพื่อนหรือเครือข่ายที่กว้างขวางที่พร้อมจะให้ข้อมูล และให้ความร่วมมือกับคุณในการทำงานใด ๆ ก็ตาม นอกจากนี้การที่คุณมีเครือข่ายมากมายย่อมหมายถึงคุณได้รับการยอมรับจากกลุ่ม คนเหล่านั้นซึ่งพร้อมที่จะช่วยเหลือคุณอยู่ตลอดเวลา
            คน เราไม่สามารถทำงานคนเดียวเพียงตามลำพังได้ แน่นอนว่าทุกคนย่อมต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย การทำงานร่วมกับบุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ยากหรือไม่บางคนมีพฤติกรรมที่สามารถ ปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี แต่บางคนประสบปัญหาในการทำงานร่วมกับบุคคลต่าง ๆ โดยจะเห็นได้จากการไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือร่วมมือใด ๆ รวมทั้งการไม่ได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ   อย่าฉายเดี่ยว การ สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานการที่ผู้ร่วมงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อ กันร่วมมือกันในการทำงานจะทำให้เกิดความอบอุ่นมีกำลังใจและสนุกสนานกับงาน มากกว่าการทำงานโดยลำพังงาน
            สัมพันธภาพนำไปสู่ความสามัคคี  หรือ ความปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การร่วมมือกันทำงานให้สำเร็จลุล่วง ในการทำงานต้องมีความจริงใจต่อกัน มองคนอื่นในแง่ดี มีส่วนร่วมในงานเต็มกำลังความสามารถ รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ ปรับตนเองให้เข้ากับผู้อื่นได้ มนุษย์สัมพันธ์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพราะมีส่วนสำคัญในการทำงานร่วมกันเป็น หมู่คณะ

ส ที่ 4  สื่อสาร
         
การ สื่อสารในองค์กร เป็นกระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายใน องค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กร และสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตาม สถานการณ์
            การ สื่อสารในองค์ที่เกิดขึ้นเพื่อการประสานงาน และสร้างความเข้าใจต่อกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายสนทนาแลกเปลี่ยนกับบุคคลที่เกี่ยว ข้องกับงานอยู่เสมอ
            การ พูดอย่างสร้างสรรค์จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานสวัสดีขอโทษขอบคุณ เป็นประโยคที่ควรพูดติดปากแสดงถึงการมีมรรยาทและเป็นเสน่ห์แก่ผู้พูดหมั่น พูดชมเชยไต่ถามทุกข์สุขให้กำลังใจประสานความเข้าใจเพื่อลดความขัดแย้งในการ ทำงานจะช่วยตัดปัญหาลดความเครียด

ส ที่ 5  สุขใจ
          ทำ งานด้วยความสุขใจ ไม่มีผู้ใดที่อยากทำงานกับคนหงุดหงิด ดังนั้นการมีอารมณ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ และมองโลกในแง่ดี ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานด้วยความสุขใจ ที่สร้างการมองโลกในแง่ดี และเป็นพลังบวกในที่ทำงานของคุณ รวมทั้งเป็นความรู้สึกที่จริงใจอย่างแท้จริง
            เมื่อ คุณยิ้มแย้มแจ่มใสและมองโลกในแง่ดีในที่ทำงาน คุณก็จะมีแต่ความสุขใจ และสังเกตได้ว่าเพื่อนร่วมงานต่างก็ปรารถนาให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่ การงาน รวมทั้งประสบแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต
            หา โอกาสสนทนากับผู้สูงอายุและผู้เยาว์บ้าง เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในบุคคลซึ่งมีวัยและประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่าง จากเรา เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองในการใช้ชีวิต รวมทั้งสร้างพลังแห่งความเมตตาให้เกิดขึ้นเป็นนิสัย โดยให้อภัยแก่ทุกคนที่ก่อปัญหาให้กับเรา ไม่ว่าปัญหาเหล่านั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม

ดังนั้นการใช้เทคนิค 5ส (เดิม) และเทคนิค 5 ส (ใหม่) นี้ น่าจะทำให้เกิดการผสมผสาน ระหว่างประสิทธิภาพในเชิงกายภาพและจิตภาพ  ซึ่งจะทำให้เกิดความสมบูรณ์แบบของการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง

การตรวจสุขภาพประจำปีในผู้สูงอายุ


การตรวจสุขภาพประจำปีในผู้สูงอายุ
 รศ.นพ.ประเสริฐ   อัสสันตชัย
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 
                 ปัจจุบัน ประชาชนไทยมีอายุยืนขึ้น ผลจากการที่มีอายุมากขึ้น ย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติเนื่องจากความชรา ระบบอวัยวะต่างๆจะทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้อุบัติการณ์ของโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ และนำไปสู่ปัญหาทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัวและส่วนรวมได้ ดังนั้น การตรวจสุขภาพ เป็นระยะๆ เพื่อตรวจพบความเจ็บป่วยใดๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นมาก 
โรคที่อาจตรวจพบได้ในผู้สูงอายุจากซักประวัติและตรวจร่างกาย
                    - ความดันโลหิตสูง จากการวัดความดันโลหิตที่ต้นแขน
                    - โรคหลอดเลือดหัวใจ จากการซักประวัติ
                    - มะเร็งเต้านม จากการซักประวัติและตรวจเต้านม
                    - ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จากการซักประวัติ
                    - การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมจนเกิดผลข้างเคียง จากการซักประวัติ
                    - การไม่สามารถที่จะออกไปพบปะสังคมกับผู้อื่น จากการซักประวัติ
                    - ภาวะหกล้มซ้ำซ้อน จากการซักประวัติ
                    - ภาวะทุพโภชนาการ จากการซักประวัติ
การตรวจหู
            ภาวะหูหนวก หูตึง พบได้บ่อยมากประมาณร้อยละ 25 - 35 ในผู้สูงอายุ และพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ ได้แก่
                   - ภาวะประสาทหูเสื่อมจากอายุ ที่มีชื่อเรียกว่า Presbycusis
                   - หูชั้นนอกอุดกั้นจากขี้หูที่มีปริมาณมาก
                   - ภาวะประสาทหูเสื่อมจากการได้ยินเสียงดังมากๆ ในอดีต
ความ ผิดปกติอย่างแรกและอย่างที่สาม จำเป็นต้องได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษของแพทย์เฉพาะทางหู จึงยืนยันได้แน่นอน การรักษาจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยการได้ยินติดตัวไปกับผู้สูงอายุตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันยังมีราคาแพง การตรวจและรักษาปัญหาทั้ง 2 ดัง กล่าว จึงยังไม่แพร่หลายในทางปฏิบัติ ส่วนภาวะหูตึงจากสาเหตุที่สองคือ หูชั้นนอกอุดตันจากขี้หู สามารถวินิจฉัยได้ง่ายจากการตรวจในหูชั้นนอกด้วยเครื่องมือที่ส่องเข้าไปดู คล้ายไฟฉาย และสามารถให้การรักษาได้เลย จึงเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจเสมอ
การตรวจทางตา
            ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนประมาณร้อยละ 10 จะมีโรคทางตา หรือความสามารถในการมองเห็นลดลงซ่อนเร้นอยู่ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
                  - โรคต้อกระจก
                  - โรคต้อหิน
                  - ภาวะประสาทจอรับภาพเสื่อม โดยเฉพาะในคนที่มีอายุมากๆ
                  - ภาวะสายตาสั้น หรือยาวผิดปกติ
ผู้ สูงอายุที่มีต้อหิน ส่วนหนึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป มักจะมาพบแพทย์ต่อเมื่อสายตามัวลงมากจนไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้ ถ้าสามารถได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจป้องกันภาวะตาบอดได้ ส่วนอีก 3 โรคที่เหลืออาจทำการตรวจคัดกรองด้วยการวัดสายตา โดยให้ผู้สูงอายุอ่านภาพตัวอักษรหรือดูรูปที่ห่างออกไป 6 เมตร ถ้าพบว่ามีความผิดปกติ แพทย์ก็จะส่งตัวผู้ป่วยไปพบจักษุแพทย์ต่อไป
การตรวจสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
                 โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในผู้สูงอายุในชุมชนที่อาจซ่อนเร้นอยู่ มี 2 ภาวะคือ ภาวะซึมเศร้า (Depression) และภาวะสมองเสื่อม (Dementia) การ ตรวจเพื่อค้นหาภาวะดังกล่าว แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติอย่างละเอียดทั้งจากตัวผู้สูงอายุเอง ญาติ และผู้ดูแลใกล้ชิด ซึ่งการตรวจเช่นนี้จะใช้เวลาพอสมควร และควรได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง การตรวจชนิดนี้ญาติหรือตัวผู้สูงอายุจำเป็นต้องเล่าถึงอาการทางจิตเวชด้วย ทั้งนี้ ต้องพิจารณาเป็นรายๆไป
โรคผิวหนัง
โรคผิวหนังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุในชุมชน ได้แก่
                  - การติดเชื้อราที่ผิวหนัง โดยเฉพาะถ้าเป็นเบาหวานอยู่ด้วย
                  - ผื่นแพ้ยา
                  - ภาวะผิวแห้ง
                  - มะเร็งผิวหนัง
โรคเกี่ยวกับเหงือกและฟัน
            ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 50 ที่ อยู่ในชุมชน มีโรคเกี่ยวกับเหงือกและฟันที่ซ้อนเร้นอยู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือมีเศรษฐานะยากจน โรคที่พบบ่อย ได้แก่ ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมะเร็งในช่องปาก วิธีตรวจเพื่อค้นหาภาวะดังกล่าวที่ดีคือ การให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นระยะ
การ ตรวจภายในเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ในสตรี เพื่อเป็นการตรวจค้นหาก้อนเนื้องอกผิดปกติที่อาจพบได้ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งพบสูงขึ้นตามอายุ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุสตรีที่ไม่เคยได้รับการตรวจเซลล์ของปากมดลูกก็ควรได้ รับการตรวจอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ถ้าปกติติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี สามารถลดความถี่ของการตรวจเป็นทุก 3 ปี
การ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบไปด้วยการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ โดยทั่วไปวิธีการเหล่านี้สามารถตรวจพบโรคที่ซ้อนเร้นอยู่ในผู้สูงอายุที่ อยู่ในชุมชน ได้เพียงร้อยละ 2 - 3 การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการซักประวัติ และตรวจร่างกายจากแพทย์เสมอ โรคที่พบได้บ่อยจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
                  - ภาวะโลหิตจาง
                  - ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
                  - โรคเบาหวาน
                  - โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
                  - ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ
                  - ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง
                  - ความผิดปกติของเกลือแร่ในกระแสเลือด โดยเฉพาะผู้ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาแก้ปวดข้ออยู่

มารู้จักหมู่เลือดกันเถอะ (ตอนที่ 2)


มารู้จักหมู่เลือดกันเถอะ (ตอนที่ 2)
อ.พญ.กุลวรา อนุรักษ์ภราดร
ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
หมู่เลือดอาร์เอช (Rh blood group)
       เป็นหมู่เลือดที่มีความสำคัญเช่นกัน ถูกกำหนดโดยสารแอนติเจนที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงคือสารดี (D antigen) โดยคนที่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชบวก (Rh positive) ส่วนคนที่ไม่มีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงก็จะเป็นหมู่เลือดอาร์เอชลบ (Rh negative) ซึ่งพบได้น้อยในคนไทย   โดยทั่วไปหมู่เลือดอาร์เอชลบ (Rh negative) จะยังไม่มีสารต้าน D ( anti D) อยู่เดิมแต่จะถูกสร้างชึ้นเมื่อได้รับเลือดอาร์เอชบวก (Rh positive)ซึ่งมีสาร D อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงหรือตั้งครรภ์บุตรที่มีเลือดอาร์เอชบวก ซึ่งสารต้าน D จะ ทำให้เกิดปฏิกริยาที่รุนแรงและเป็นอันตรายได้เช่นกันเมื่อได้รับเลือดอาร์เอ ชบวกซึ่งหลังสร้างสารต้านไปแล้ว นอกจากนั้นในผู้หญิงที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบที่มีสารต้าน D แล้ว หากตั้งครรภ์บุตรที่มีเลือดอาร์เอชบวก สารต้าน D จากร่างกายแม่จะสามารถเข้าไปทำลายเม็ดเลือดแดงของเลือดลูกที่อยู่ในครรภ์ ก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกที่อยู่ในครรภ์ได้อีกด้วย
        ดังนั้นในคนที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ หากมีเหตุที่จะต้องได้เลือดจึงควรจะได้เลือดหมู่อาร์เอชลบเพื่อป้องกันการสร้างสารต้าน D และหากตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่มีสารต้าน D ก็ควรจะฉีดยาป้องกันการสร้างสารต้าน D ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ส่วนในคนที่มีการสร้างสารต้าน D แล้วก็จะต้องได้รับเฉพาะเลือดอาร์เอชลบเท่านั้น มิฉะนั้นก็อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
        ส่วนหมู่เลือดในระบบอื่นๆนั้นมีความสำคัญรองลงไป ไม่ได้ทำการตรวจเป็นประจำ แต่จะทำการตรวจหาสารต้านของหมู่เลือดระบบอื่นๆ (antibody screening) เฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับเลือดก่อนการให้เลือด
การตรวจหมู่เลือด
        ใน ปัจจุบันหากท่านมาบริจาคเลือด เลือดของท่านก็จะได้รับการตรวจหมู่เลือดทั้งระบบเอบีโอและระบบอาร์เอชเพื่อ เตรียมให้ผู้ป่วย และหากท่านมีหมู่เลือดชนิดพิเศษหายากท่านอาจได้รับการติดต่อจากธนาคารเลือด เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้บริจาคเลือดหมู่พิเศษซึ่งจะได้รับการติดต่อเพื่อ มาบริจาคเลือดเมื่อมีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เลือดหมู่ของท่าน ต่อไป
        หาก ท่านเป็นผู้ป่วยที่จะต้องได้รับเลือด ท่านจำเป็นจะต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อมาตรวจที่ธนาคารเลือดเพื่อยืนยัน หมู่เลือด ตรวจหาสารต้านหมู่เลือดในระบบอื่นๆและตรวจความเข้ากันได้กับเลือดที่จะได้ รับ ก่อนที่จะได้รับเลือดทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในการได้รับเลือด
        หาก ท่านยังไม่ทราบหมู่เลือดของตนเอง ท่านสามารถรับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเองเมื่อมีเหตุที่ต้องได้รับเลือดฉุก เฉิน

มารู้จักหมู่เลือดกันเถอะ (ตอนที่ 1)


มารู้จักหมู่เลือดกันเถอะ (ตอนที่ 1)
อ.พญ.กุลวรา อนุรักษ์ภราดร
ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
       ท่าน คงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการทำนายนิสัยจากหมู่เลือด การทำนายดวงชะตาจากกรุ๊ปเลือดหรือการรับประทานอาหารตามกรุ๊ปเลือดกันมาบ้าง แต่ทราบหรือไม่ว่าจริงๆแล้วกรุ๊ปเลือดคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร  “กรุ๊ป เลือด” หรือ “หมู่เลือด” เป็นลักษณะจำเพาะของสารแอนติเจนซึ่งเป็นโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตที่อยู่บนผิว เม็ดเลือดแดง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล มีความสำคัญมากเนื่องจากหากจำเป็นต้องได้รับเลือด จะต้องได้รับเลือดจากบุคคลที่มีหมู่เลือดหมู่เดียวกัน หรือเข้ากันได้ มิเช่นนั้นอาจเกิดปฏิกริยาจากการให้เลือดผิดหมู่ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ได้ ดังนั้นคนเราทุกคนจึงควรทราบหมู่เลือดของตัวเอง เพื่อความรวดเร็วและปลอดภัยหากมีเหตุที่จะต้องได้รับเลือด
      หมู่เลือดนั้นมีอยู่ด้วยกันกว่า 40 ระบบแต่ที่มีความสำคัญจริงๆมีอยู่สองระบบคือ ระบบเอบีโอ (ABO) ซึ่งแบ่งหมู่เลือด 4หมู่คือ เอ (A), บี (B), โอ (O) และเอบี(AB)   และระบบอาร์เอช (Rh) ซึ่งแบ่งหมู่เลือดเป็น อาร์เอชบวก (Rh positive) และ อาร์เอชลบ (Rh negative) ซึ่งคนที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบนั้นพบได้น้อยในคนไทย (ในคนไทย 1000 คนพบคนที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบเพียง 3 คน)  จัดเป็นหมู่เลือดหายาก
หมู่เลือดระบบเอบีโอ ( ABO blood group)
      เป็นหมู่เลือดที่มีความสำคัญมาก ถูกกำหนดโดยสารแอนติเจนที่อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงซึ่งมีสองชนิดคือ สารแอนติเจนเอ ( A antigen) และแอนติเจน บี ( B antigen) โดยคนที่ไม่มีสารแอนติเจนชนิดใด ก็จะสร้างสารต้าน (antibody) ต่อสารแอนติเจนชนิดนั้น ซึ่งถ้าได้เลือดผิดหมู่ก็จะเกิดปฏิกริยารุนแรงจากสารต้านจนเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
หมู่เลือด A คือคนที่มีสารแอนติเจน A บนผิวเม็ดเลือดแดงและไม่มีสารแอนติเจน B จึงสร้างสารต้านต่อแอนติเจน B (anti B)
หมู่เลือด B คือคนที่มีสารแอนติเจน B บนผิวเม็ดเลือดแดงและไม่มีสารแอนติเจน A จึงสร้างสารต้านต่อแอนติเจน A (anti A)
หมู่เลือด AB คือคนที่มีทั้งสารแอนติเจน A และสารแอนติเจน B บนผิวเม็ดเลือดแดงและไม่สร้างสารต้านทั้งสองชนิด
หมู่เลือด O คือคนที่ไม่มีทั้งสารแอนติเจน A และสารแอนติเจน B บนผิวเม็ดเลือดแดง จึงสร้างสารต้านต่อทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B
     
ในการให้เลือดเราจะต้องได้เลือดจากคนเลือดหมู่เดียวกันหรือเข้ากันได้คือไม่มีสารต้านต่อแอนติเจนของเลือดที่จะให้ ดังแสดงในตาราง
หมู่เลือด
แอนติเจน
สารต้าน
ต้องได้รับเลือดจาก
สามารถให้เลือดกับ
A
A
Anti B
หมู่ A,O
หมู่ A, AB
B
B
Anti A
หมู่ B,O
หมู่ B, AB
AB
A และ B
ไม่มี
หมู่ AB, A,B,O
หมู่ AB
O
ไม่มี
Anti A และ anti B
หมู่ O
หมู่ O, A,B, AB
-มีต่อตอนที่ 2 -